ระบบนิเวศป่าชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลน
ป่าชายเลน หรือ ป่าโกงกาง (อังกฤษMangrove forest หรือ Intertidal forest) คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มี ใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง
ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในประเทศตรินิแดดและ กิอานา
คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง"
บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่าและ ไทย เป็นต้น
สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ซันดาร์บานส์ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์)[1][2][3][4][5] ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก[4]

พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย[แก้]


  1. โกงกางใบเล็ก           




2.ถั่วขาว





3.โปรงขาว



4.โปรงแดง

         ความสำคัญของป่าชายเลน  คือ  เป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง  ได้แก่  เป็นที่รวมพันธุ์ไม้หลายชนิด  เช่น  โกงกาง  แสม  เสม็ด  ถั่วขาว  โปรงหนู  โปรงทะเล  โปรงขาว  โปรงแดง  หยีทะเล   เป็ง  ลำพูน ลำแพน  ฝาดดอกแดง  พังกาหัวสุมดอกแดง  ฯลฯ  มีสาหร่ายซึ่งอยู่อาศัยบริเวณลำต้น  รากหรือรากอากาศของไม้ป่าชายเลน  เป็นสาหร่ายสีแดง  สาหร่ายที่อาศัยบริเวณโคลนเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและสาหร่ายสีน้ำตาลบางสกุล 
         ที่สำคัญคือจะเป็นแหล่งที่มีประชากรสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก  มีปลา 4 กลุ่มใหญุ่ ๆ คือ  ปลาที่อาศัยอยู่ประจำ  ปลาที่อาศัยอยู่ชั่วคราว  ปลาที่มากับกระแสน้ำ และปลาที่พบในบางฤดูกาล  ปลาที่สำคัญ  ได้แก่  ปลากระบอก  ปลากะรัง  ปลากระพง  ปลานวลจันทร์ และปลาตีน  เป็นต้น  มีกุ้งประมาณ 15 ชนิด  ตัวอย่างเช่น  กุ้งก้ามกรามและกุ้งน้ำจืด  กุ้งแชบ๊วย  กุ้งกุลาดำ  มีปู 54 ชนิด  อาทิ  ปูแสม  ปูก้ามดาบ  ปูดำ  มีหอยมากกว่า 20 ชนิด  อาทิ  หอยนางรม  หอยเจาะ  หอยดำ  หอยขี้นกและหอยขี้กา  เป็นต้น  มีนกประมาณ 88 ชนิด  ทั้งนก  อพยพและนกท้องถิ่น  อาทิ  นกในกลุ่มนกยางควาย  นกยางกรอก  นกเหยี่ยวไดท์  นกหัวโต  มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 35 ชนิด  อาทิ  ค้างคาว  ลิงกัง  นาก  แมวป่า  มีสัตว์เลื้อยคลาน  ประมาณ 25 ชนิด  อาทิ  งู  กิ้งก่า  เต่า  จระเข้  รวมทั้งมีแมลง 38 ชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น